เข้าใจเบาหวาน และข้อควรปฏิบัติทั้ง 8 ข้อ

เข้าใจเบาหวาน และข้อควรปฏิบัติทั้ง 8 ข้อเบาหวาน

ปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่าคนไทยหลายคนกำลังประสบกับปัญหาเรื่องโรคไม่ติดต่ออย่างเบาหวาน คนหลายคนต้องทนทุกข์ทรมานกับเบาหวานและยังไม่รู้ถึงข้อควรปฏิบัติเมื่อท่านเป็นโรคดังกล่าวนี้ วันนี้แอดเลยอยากจะนำเสนอเกี่ยวกับ 8 ข้อควรปฏิบัติเมื่อท่านเป็นโรคเบาหวาน

เบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นกันมากถึงร้อยละ 3.5 ของคนทั่วไป พบได้ทุกเพศทุกวัยแต่จะพบมากในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป โรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อย หรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ น้ำตาลก็จะคั่งค้างอยู่ในเลือดและอวัยวะต่างๆและถูกไตกรองออกมากับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน จึงเรียกว่า เบาหวาน และการที่น้ำตาลคั่งค้างอยู่ในอวัยวะต่างๆทำให้อวัยวะเหล่านั้นเกิดความผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย โรคนี้มักเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม กล่าวคือมักมีพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย และมีสาเหตุอื่น คือ อ้วนเกินไป มีลูกดก เกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น หรือเป็นร่วมกับโรคอื่น เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง มะเร็งตับอ่อน ตับแข็งระยะสุดท้าย คอพอกเป็นพิษ เป็นต้น คนที่มีโอกาสเป็นโรคนี้จะเป็นคนอยู่ในเมืองมากกว่าในชนบท

น้ำตาล
ภาพโดย Myriams-Fotos จาก Pixabay

 

อาการ

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุและอาการแตกต่างกันดังนี้ 

  1. เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน เป็นชนิดที่พบน้อยแต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนที่อายุต่ำกว่า 25 ปี ตับอ่อนของผู้ป่วยจะสร้างอินซูลินไม่ได้เลยหรือสร้างได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านทำลายตับอ่อนจนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ที่เรียกว่า โรคภูมิแพ้ตัวเอง ทั้งนี้เป็นผลมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมร่วมกับการติดเชื้อหรือสารพิษจากภายนอก ร่างกายจะเผาผลาญไขมัน เพราะไม่สามารถดึงพลังงานจากน้ำตาลมาได้ ทำให้ร่างกายผอมอย่างรวดเร็ว มีการคั่งของสารคีโตน ที่เกิดจากการเผาผลาญไขมันมาก ทำให้เป็นพิษต่อระบบประสาท จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำอย่างมาก หายใจหอบลึก ลมหายใจมีกลิ่นหอม มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจปวดท้อง ท้องเดินจะซึมลงเรื่อยๆ จนหมดสติ ถ้ารักษาไม่ทันอาจตายได้ อาการต่างๆมักเกิดขึ้นรวดเร็วพร้อมกับน้ำหนักตัวลดฮวบฮาบใน 1 สัปดาห์หรือ 1 เดือน เด็กบางคนอาจมีการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืนผู้ป่วยต้องฉีดอินซูลิน ทดแทนในร่างกายทุกวัน

    อินซูลิน
    ภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay
  2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน เป็นเบาหวานที่พบเป็นส่วนใหญ่ มักพบมากในคนสูงอายุมากกว่า 40 ปี ตับอ่อนของผู้ป่วยนี้จะสามารถสร้างอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทำให้มีน้ำตาลเหลือใช้ กลายเป็นเบาหวานได้ สาเหตุเกิดจากพันธุกรรม อ้วนเกินไป มีลูกดก การใช้ยาบางชนิด หรือเป็นโรคอื่นร่วมด้วยดังกล่าวแล้วข้างต้น  ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย หิวบ่อย กินข้าวจุ อ่อนเพลีย อาการจะค่อยเป็นค่อยไปแบบเรื้อรัง น้ำหนักตัวอาจลดลงบ้างเล็กน้อย บางคนอาจ บางคนอาจคันตามตัว เป็นฝีบ่อย เป็นแผลเรื้อรังรักษายาก ผู้หญิงบางคนอาจคลอดทารกตัวโตกว่าปกติ บางคนครรภ์เป็นพิษ  อาจมีอาการแทรกซ้อนบางอย่าง  มีต้อกระจกก่อนวัย ปลายประสาทอักเสบ ไตเสื่อมจนเกิดภาวะไตวาย ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง ติดเชื้อง่าย ภูมิต้านทานต่ำ เป็นต้น

ข้อควรปฏิบัติ

  1. โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังจะต้องรักษาติดต่อกันนานหรือตลอดชีวิต  และไม่ควรเปลี่ยนแพทย์บ่อยๆ หรือไปรักษาทางไสยศาสตร์ ควรมีความอดทน ถ้าได้รับการรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องอาจมีชีวิตเหมือนคนปกติได้ แต่ถ้ารักษาไม่จริงจังจะมีภาวะแทรกซ้อนมากมายยากแก่การรักษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถมีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ถ้ารู้จักดูแลสุขภาพของตนเองให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ และปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำ
  2. ควรควบคุมอาหาร ลดน้ำหนักถ้าอ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดการกินน้ำตาลและของหวานทุกชนิด น้อยที่สุด วันงดเว้นการกินน้ำตาล น้ำอัดลม   กินอาหารพวกแป้งต่างๆและไขมันให้น้อยลงด้วย อาหารที่ควรกินคือ ประเภทโปรตีน ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัด
  3. ควรเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด  เพราะจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น
  4. ต้องระวังรักษาเท้าเป็นพิเศษ อย่าให้เกิดบาดแผลหรืออักเสบเพราะจะลุกลามจนต้องตัดทิ้งการดูแลรักษาเท้าควรทำดังนี้
  • ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่เช็ดให้แห้ง ยาถูแรง
  • เวลาตัดเล็บต้องระวังไม่ให้ถูกเนื้อ
  • อย่าเดินเท้าเปล่าเวลาออกนอกบ้านหรือบนพื้นที่สกปรก ระวังไม่ให้เหยียบของแหลมมีคมจนทำให้เกิดแผล
  • ยาสวมรองเท้าถุงเท้าที่คับแน่นเกินไป
  • ถ้าเป็นหูด ตาปลา หรือตุ่มพองที่เท้า อยากแกะ ตัดออก หรือโปร่งเองเป็นอังคาร ควรให้แพทย์เป็นผู้ทำให้เพราะจะติดเชื้อได้ง่าย
  • ยาใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ล้างแผล ควรล้างด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดปิดแผลด้วยผ้าพันแผลที่ฆ่าเชื้อแล้วติดด้วยพลาสเตอร์อย่างนิ่ม

    ลูกอม
    ภาพโดย Brett Hondow จาก Pixabay

5. บางครั้งผู้ป่วยอาจมีน้ำตาลในเลือดต่ำทำให้เป็นลมหมดสติได้ จึงต้องพกน้ำตาลหรือลูกกวาดติดตัวอยู่เสมอเมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำให้รีบกินน้ำตาลทันทีอาการเหล่านั้นจะหายไป

6. หมั่นตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะเป็นประจำเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติมากหรือไม่

7. ระวังการใช้ยาด้วยตนเองเพราะอาจทำให้เพิ่มน้ำตาลในเลือดได้ การใช้ยาจึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

8. ควรมีบัตรประจำตัวที่แสดงว่าเป็นโรคเบาหวานติดตัวอยู่เสมอ หากหมดสติเมื่อใดผู้ที่ให้การปฐมพยาบาลหรือแพทย์จะได้รักษาได้ถูกต้อง

ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ

ถ้าหากเมื่อเราเป็นแล้วเราควรจะแก้อย่างไรควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อที่จะทำให้ร่างกายของเราไม่แย่หรือเสื่อมสภาพไปกว่านี้ เราต้องใส่ใจกับสุขภาพของเราให้มากขึ้นดูแลตัวเองให้ดี สวัสดีครับ