วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา ที่เรายังอาจไม่รู้อย่างแท้จริง

วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา ที่เรายังอาจไม่รู้อย่างแท้จริง

หากเราเป็นชาวพุทธ  เราควรจะรู้วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและความหมายของแต่ละวัน รวมถึงหลักปฏิบัติอย่างถ่องแท้ แต่ในสังคมปัจจุบันทำให้หลายๆคนต้องเหินห่างจากวันสำคัญทางพุทธศาสนา หลายคนอาจเห็นความหมายของวันสำคัญเหล่านี้เป็นเพียงแค่วันหยุดราชการเท่านั้น สำหรับแอดฯในฐานะที่เป็นชาวพุทธคนนึงก็อยากให้ทุกท่านให้ความสำคัญกับวันสำคัญของพระพุทธศาสนาเรา และนำหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปฏิบัติเพื่อให้เกิดมงคลแก่ชีวิตของเราสืบไป ลองมาดูซึ่งข้อมูลนี้ บางวันก็ไม่ได้เป็นวันหยุดราชการทให้เราลืมความสำคัญและความหมายไป

วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา

วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา หมายถึง วันที่ตรงกับวันที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า เกี่ยวข้องกับพระสาวกหรือเกี่ยวข้องกับข้อบัญญัติหรือวินัยสงฆ์ ซึ่งวันสำคัญเหล่านี้จะมีการประกอบพิธีบูชา เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงพระพระรัตนตรัย วันสําคัญทางพระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธยึดถือมานาน มีดังนี้ จิตรกรรม

วันนี้แต่ละเดือนได้แก่

  1.  วันธรรมะสวนะจีวรพระ
  2. วันโกน

วันสำคัญประจำปีได้แก่

  1.  วันวิสาขบูชา
  2. วันมาฆบูชา
  3. วันอาสาฬหบูชา
  4. วันอัฏฐมีบูชา หรือวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
  5. วันเข้าพรรษา
  6. วันออกพรรษา
  7. วันเทโวโรหณะ

วันธรรมะสวนะ

    วันธรรมะสวนะ หรือวันพระ วันอุโบสถหมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชน เพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ประจำสัปดาห์ อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมะสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ(วันเพ็ญ) วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ(หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ) วันอุโบสถของพระ พระภิกษุสงฆ์ มีการกระทำปาฏิโมกข์ คือสวด สอบทาน สาธยาย พุทธบัญญัติของพระองค์พระเงินทันใจ

     วันพระเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญะเดียรถีย์(นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุกๆ วัน 8 ค่ำ ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยพระพุทธกาลพระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่า นักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุม สนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพระพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ  14 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนา และแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎก เรียกวันพระว่าวันอุโบสถ

วันโกน

     วันโกนคือวันขึ้น 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำวันก่อนวันพระ 1 วัน พระสงฆ์ท่านจะปลงผมในวันนี้ แต่ก่อนวันโกน-วันพระ หรือวันอุโบสถ จะเป็นวันหยุดราชการเพื่อให้ประชาชน เด็กนักเรียน ได้หยุดงาน หยุดเรียน เพื่อเข้าวัดบำเพ็ญกุศลพิธีต่างๆ แต่ต่อมา ธรรมเนียมการหยุดวันโกนวันพระนี้ ถูกยกเลิกไป มาเป็นการหยุดในวันเสาร์และอาทิตย์แทน

วันวิสาขบูชา

     วันวิสาขบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6( หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ) แต่ถ้าปีใดเป็นปีที่มีอธิกมาส (เดือน 8 สองหน)เลื่อนเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7  วันวิสาขบูชามีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง   คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ และวันปรินิพพานของพระองค์ โดยเหตุการณ์ทั้ง 3 เกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 เหมือนกัน แต่ต่างปีกันคือ

  1.  วันประสูติตรงกับวันศุกร์ วันเพ็ญเดือน 6 ปีจอ เวลาสายใกล้เที่ยง ก่อนพระพุทธศาสนา 80 ปี ณ ป่าลุมพินี เขตติดต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด

    ประสูติ
    ภาพโดย DuongNgoc1987 จาก Pixabay
  2. วันตรัสรู้ เกิดขึ้นในเวลา 35 ปีต่อมา ภายหลังที่สิทธัตถะกุมารเสด็จออกบรรพชาได้ 6 ปี ณ โคนต้นโพธิ์ ชื่อว่าอัสสัตถะ  ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลพุทธคยาจิตรกรรม
  3. วันปรินิพพาน เกิดขึ้นในปีที่ 80 แห่งพระชนมายุของพระพุทธเจ้า ณ แท่นบรรทม ระหว่างต้นรังคู่ ป่าสาละเมืองกุสินารา ปัจจุบันเป็นตำบลกุสินารา หรือกุสินาคาร์ รัฐอุตตรประเทศ

ในการประชุมสามัญครั้งที่ 54  วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2542  องค์การสหประชาชาติ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากล ในกรอบของสหประชาชาติ

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3  แต่ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4  เป็นวันที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนากล่าวคือ เมื่อครั้งพุทธกาลได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” ได้แก่

  1.  พระอรหันต์สาวกจำนวน 1250 รูป มาประชุมพร้อมกัน ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์
  2.  พระอรหันต์เหล่านี้ล้วนเป็นเอหิภิกขุ คือ ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
  3.  พระสงฆ์เหล่านั้น  ล้วนเป็นพระอรหันต์สำเร็จอภิญญา 6 ด้วยกันทั้งสิ้น
  4.  วันนั้นเป็นวันมาฆะปูรณมีคือ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำกลางเดือนมาฆะ(เดือน 3) จึงเรียกว่า “วันมาฆบูชา”

นอกจากนี้ ยังเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาที่เรียกว่า โอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนากล่าวคือ การไม่ทำชั่วทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์

พระ
ภาพโดย DuongNgoc1987 จาก Pixabay

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา  ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8  แต่ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส ก็ให้เลื่อนไปทำในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 หลังแทน ความสำคัญของวันนี้มี 4 ประการคือ

  1.  เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
  2.  เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร(เทศน์กัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์)
  3.  เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือพระอันยาโกทันยะ ได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา (วิธีบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสมัยพระพุทธกาลยุคต้นต้น โดยพระพุทธเจ้าทรงประทานให้ด้วยพระองค์เอง)
  4.  เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบถ้วนสมบูรณ์ คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ

    พระพุทธเจ้า
    ภาพโดย Jimmy Chan จาก Pixabay

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชาคือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า(หลังเสด็จดับขันปรินิพพานได้ 8 วัน)ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำเดือนวิสาขะ(เดือน 6 ของไทย) นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พุทธะมารดาสิ้นพระชนม์(หลังประสูติ ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน(หลังตรัสรู้) อีกด้วย 

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ระหว่างต้นรังคู่ ป่าสาละ เมืองกุสินารา ความเศร้าโศกก็เกิดขึ้นทั่วไปในหมู่พุทธศาสนิกชนที่เป็นปุถุชน ส่วนพระขีณาสพ ก็เกิดธรรมสังเวช พวกมัลลกษัตริย์ช่วยทำการบูชาพระบรมศพด้วยเครื่องบูชาอันประณีตและสวยงาม ประกอบพิธีเหมือนกับที่จัดให้แก่พระมหากษัตริย์ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในวันที่ 7 จึงอัญเชิญพระศพไปประดิษฐาน ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองกุสินารา แล้วถวายพระเพลิงแต่ไฟไม่ติด โดยเทวดาบันดาลไว้เพื่อรอพระมหากัสสปะมาถึง เมื่อพระมหากัสสปะพร้อมภิกษุ๕๐๐รูป เดินทางมาถึงเมืองกุสินารา จิตกาธาน 3 รอบ แล้วเข้าไปถวายบังคมพระบาทของพระพุทธเจ้า ทันใดนั้น เทพยดาก็บันดาลให้ไฟลุกขึ้นที่จิตกาธานเผาพระบรมศพจนหมดสิ้น เหลือเพียงผ้า 1 คู่  คู่ที่และชั้นนอกสุด กับพระเขี้ยวแก้ว 4 รากขวัญ 2 ซิงทั้ง 7 นี้ ยังคงอยู่ปกติไม่ได้กระจัดกระจายไป ส่วนพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือแตกกระจัดกระจายออกเป็น 3 ขนาด คือขนาดใหญ่เท่าเม็ดถั่วแตก ขนาดกลางเข้าเมล็ดข้าวสารหัก และขนาดเล็กประมาณเท่าเม็ดพันธุ์ผักกาดและหลังจากนั้น ได้มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุเป็น 8 ส่วนเท่าๆกัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละ 

วันเข้าพรรษา

      วันเข้าพรรษาเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ของทุกปี (วันถัดจากวันอาสาฬหบูชา)ถ้าปีใดเป็นปีที่มีอธิกมาส ก็เลื่อนเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือนแปดหลัง วันนี้มีความสำคัญ  ณ วัดใดวัดหนึ่งตลอดเวลา 3 เดือนในฤดูฝน ไม่ไปค้างคืนที่อื่นในระหว่างนั้น ตามประวัติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุได้เที่ยวจาริกไปในที่ต่างๆในฤดูฝน ซึ่งตรงกันข้ามกับนักบวชในนิกายอื่นๆ ที่งดกันไปมาระหว่างเมืองต่างๆ พระภิกษุเหล่านั้นจึงถูกชาวบ้านตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ ของพวกเขาจนเกิดความเสียหาย พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงทรงวางระเบียบให้พระภิกษุเข้าอยู่ประจำวัดตลอด 3 เดือนในฤดูฝน

วันออกพรรษา 

      วันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11  วันนี้เป็นวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา และในวันนี้พระภิกษุจะทำพิธีปวารณา หรือที่เรียกว่า วันมหาปวารณา คือการเปิดโอกาสให้พระภิกษุด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เมื่อเห็นว่าตลอดระยะเวลาอยู่จำพรรษาอาจมีการปฏิบัติไม่ดีไม่งามเหมาะสมแก่สมณวิสัยได้ หลังจากออกพรรษาแล้ว รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ มักนิยมบำเพ็ญกุศลเรียกว่า “ตักบาตรเทโว)  คือตักบาตรเนื่องในวันพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก หลังจากที่เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่งแล้ว

วันเทโวโรหณะ

      วันเทโวโรหณะหมายถึง  ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำเดือน 11  พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา และทรงจำพรรษาที่นั่นเป็นเวลา 3 เดือน พ่อออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกงั้นมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั่น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย มีประวัติว่าในสมัยมัชฌิมโพธิกาล พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระนครสาวัตถีเป็นเวลา 25 พรรษา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ทำให้เหล่าเดียรถีย์นิครนถ์ เสื่อมลาภสักการะจึงเกิดความไม่พอใจและกลั่นแกล้งใส่ร้ายพระพุทธองค์ต่างๆนานา แต่ก็ประสบความพ่ายแพ้ จนพบวิธีการอย่างหนึ่งที่อาศัยเหตุที่หก  พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ ห้ามพระสาวกมาให้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ โดยเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าองค์ไม่ทรงแสดงปาฏิหาริย์เองตามที่ทรงห้ามนั้นด้วย จึงมีการป่าวประกาศข่าวว่าพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกหมดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ จึงเกิดการท้าทายให้แสดงปาฏิหาริย์ พระพุทธองค์และเหล่าสาวกก็เงียบเฉย  พระพุทธองค์เห็นว่า หากเงียบเฉยต่อไป จะมีผลร้ายแรงแก่พระพุทธศาสนา จึงทรงรับสั่งว่าจะแสดงยมกปาฏิหาริย์ ที่ดงไม้มะม่วงในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ คือเดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน พวกเดียรถีย์จึงวางอุบายแกล้งไม่ให้พระพุทธองค์แสดงตามที่รับสั่งได้ จึงออกไปเที่ยวกำจัดและทำลายต้นมะม่วงไม่ว่าเล็กน้อยใหญ่จนสิ้นไป จนทั่วแขวงพระนครสาวัตถี และช่วยกันสร้างมณฑปสูงใหญ่ขึ้นในวัดของตนเป็นต้น

ขณะที่พวกเดียรถีย์ดำเนินการดังกล่าวนี้ฝ่ายพระพุทธองค์ก็ทรงนิ่งเฉย พอถึงวันเพ็ญอาสาฬห อันเป็นวันกำหนดนักแสดงปาฏิหาริย์ ตอนเช้าได้เกิดพายุใหญ่ขึ้นในพระนครสาวัตถีพายุพัดมณฑปของพวกเดียรถีย์พังพินาศลง พอตกตอนบ่ายมีคนเฝ้าสวนมะม่วงของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อนายคันฑะ น้ำผลมะม่วงที่หลงตาอยู่ผลนึงจะไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน แต่ได้พบพระพุทธองค์เสียก่อน เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงน้อมผลมะม่วงสุกนั้นถวายพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงรับแล้วตัดสั่งให้พระอานนท์ จัดทำน้ำปานะด้วยผลมะม่วงนั้นถวาย และให้นำเมล็ดวางลงบนพื้นดินตรงนั้น ทันทีก็เกิดปฏิหาร  พระพุทธองค์จึงทรงรับสั่งว่าจะแสดงปาฏิหาริย์ที่ต้นมะม่วงต้นนี้ พอข่าวแพร่ไปได้ไม่เท่าไหร่ มหาชนก็พากันมาประชุมเนืองแน่น แม้แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลและเหล่าเสนาข้าราชการก็เสด็จมา พระพุทธองค์จึงทรงเริ่มแสดงปาฏิหาริย์ ทรงบันดาลให้เกิดชอบไฟและท่อน้ำเล่นเป็นคู่สลับกันในอากาศโดยรอบบริเวณต้นมะม่วงนั้น แล้วทรงเนรมิตพระพุทธนิมิตรมีพระพุทธลักษณะเหมือนพระองค์ทุกประการขึ้นองค์นึง ให้เป็นคู่กับพระองค์ ฉัพพรรณรังสีกระจายออกทั่วบริเวณ จับช่อไฟและธารน้ำซึ่งเล่นอยู่นั้น บังเกิดเป็นสีรุ้งงามระยับทั่วไป ทรงแสดงธรรมและทรงกลมสลับกันกับพระพุทธนิมิตร เมื่อพระพุทธองค์ประทับโคนต้นมะม่วงพระพุทธนิมิตรก็ประทับบนต้น ขันพระองค์ขึ้นไปประทับบนต้นพระพุทธนิมิตก็กลับลงมาประทับที่โคนต้นแทนสลับกันอยู่เช่นนี้ตลอดเวลา การแสดงปาฏิหาริย์เป็นคู่คู่เรียกว่า “ยมกปาฏิหาริย์” 

ครั้งวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนอาสาฬหะถึงวันกำหนดจำพรรษา พระพุทธองค์จึงประกาศจะขึ้นไปจำพรรษาในดาวดึงส์พิภพตามธรรมเนียมของอดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ครั้นถึงวันมหาปวารณาแรม 1 ค่ำเดือน 11  พระพุทธองค์ก็เสด็จกลับ โดยมีขบวนเทพยดา มีท้าวสักกะเทวราชเป็นประธานตามส่งเสด็จทางบันไดสวรรค์ ลงที่ประตูเมืองสังกัสสะนคร พระพุทธเจ้าเสด็จมาด้วยการเปล่งพระฉับพรรณรังสี ทอดพระเนตรไปในทิศต่างๆ ทำให้พรหมโลก เทวโลก มนุษย์โลก นิรยโลก ปรากฏแก่สายตาของคนทุกคน ทั้งไตโลกได้มองเห็นกัน ในการเสด็จลงมาวันนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดเทวดาและมนุษย์ โดยจัดถามปัญหาในวิสัยของบุคคลต่างประเภทอยู่ตลอดเวลา นำมาซึ่งมรรคผลนิพพานแก่เทวดาและมนุษย์จนนับไม่ถ้วน

วันรุ่งขึ้น พุทธบริษัทจึงพร้อมใจกันใส่บาตรแด่พระพุทธองค์ รวมถึงพระสงฆ์ที่มีอยู่ทั้งหมดในที่นั้นด้วย โดยไม่ได้นัดหมายกันก่อนเลย ปรากฏว่าการใส่บาตรในวันนั้นอัดมาก ผู้คนเข้าไม่ถึงจึงโยนเข้าไปถวาย จึงเป็นเหตุหนึ่งที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยน อันเป็นส่วนสำคัญของการตักบาตรเทโวโลหณะ เป็นประเพณีสืบกันมาพระธาตุ

สำหรับแอดฯแล้ว 

ก่อนที่จะมาศึกษาพระพุทธศาสนา บางวันที่เป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างวันอัฏฐมีบูชาแอดยังไม่รู้จักเลยแล้วยังไม่รู้ด้วยซ้ำเกี่ยวข้องอย่างไรกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลายท่านก็คงเป็นเหมือนอย่างแอดฯ แอดฯจึงตระหนักได้ว่าเราไม่ควรจะเป็นชาวพุทธตามบัตรประชาชนหรือตามพ่อแม่เท่านั้นเราควรเป็นชาวพุทธที่เราเป็นชาวพุทธจริงๆด้วยการให้ความสำคัญระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสาวก รวมไปถึงนำหลักธรรมคำสอนของท่านมาปฏิบัติมายึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นคนดีตามแบบฉบับพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริง