พุทธวจน “การบูชาที่จัดเป็นการบูชาอย่างสูงสุด”

พุทธวจน “การบูชาที่จัดเป็นการบูชาอย่างสูงสุด”

เคยมีข้อสงสัยกันบ้างไหมครับกับการที่เราเป็นชาวพุทธแต่ไม่ได้บูชาพระรัตรนตรัยอย่างสูงสุด แล้วการบูชาอย่างใดแบบไหนละที่จัดว่าเป็นการบูชาอย่างสูงสุด จะยกเอาใครมาการันตีได้ละว่าสิ่งที่เราทำนั้นจัดไว้ว่าเป็นการบูชาอย่างสูงสุดต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าหากถามแอดฯ แอดฯก็จะยกเอาพระพุทธวจนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฏกขึ้นมาตอบ เพราะแอดฯไม่รู้จะยกเอาคำพูดใดของอาจารย์ท่านใดมาตอบได้ ที่สำคัญแอดฯกลัวการแต่งเติมหรือบิดเบือนจากคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แอดฯถือว่าเป็นบรมครูสูงสุดในศาสนาพุทธเรา เรามาดูกันว่าการบูชาที่จัดว่าเป็นการบูชาอย่างสูงสุดตามพระวจนเป็นอย่างไร มาดูกันครับ

บทความน่าอ่าน

แอดฯขอหยิบยกเอาพระพุทธวจนในพระไตรปิฎก มหาวรรค ทีฆนิกาย ๑๐/๑๕๙-๖๐/๑๒๘-๙ ว่าด้วยเรื่อง การบูชาที่จัดว่าเป็นการบูชาอย่างสูงสุด ที่พระองค์ท่านได้ตรัสไว้กับพระอานนท์

อานนท์! เธอจงจัดตั้งที่นอน ระหว่างต้นสาละคู่ มีศีรษะทางทิศเหนือ เราลำบากกายนัก จักนอน. (ประทับสีหไสยยาแล้ว มีอัศจรรย์ ดอกสาละผลิผิดฤดูกาล โบรยลงบนพระสรีระ ดอกมัณฑารพ จุรณ์ไม้จันทน์ ดนตรีล้วนแต่ของทิพย์ได้ตกลงและบรรเลงขึ้น เพื่อบูชาตถาคตเจ้า).

อานนท์! การบูชาเหล่านี้ หาชื่อว่าตถาคตเป็นผู้ที่ได้รับสักการะ เคารพนับถือ บูชาแล้วไม่.

อานนท์! ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใดประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นได้ชื่อว่า ย่อมสักการะ เคารพนับถือบูชาตถาคต ด้วยการบูชาอันสูงสุด.

อานนท์! เพราะฉะนั้นเธอพึงกำหนดใจว่า “เราจักประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอยู่”ดังนี้.

ดังนั้น

การบูชาที่จัดว่าเป็นการบูชาสูงสุดต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หาใช่การบูชาด้วย อาหาร ดอกไม้ธูปเทียน(อามิสบูชา)ไม่ หากแต่เป็นการปฏิบัติบูชา ที่พระองค์ท่านถือว่าเป็นการบูชาอย่างสูงสุด ทุกวันนี้หากแอดฯหรือท่านได้ปฏิบัติตามกุศลกรรมบท ๑๐ บำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นประจำเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลสตัณหา แสดงว่าได้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างสูงสุด อ่านมาถึงตรงนี้ทำให้แอดฯทราบซึ้งถึงพระองค์ท่านมากเพราะท่านไม่ได้ทรงต้องการวัตถุสิ่งของอะไรด้วยซ้ำแต่พระองค์ท่านกับให้เราปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระองค์ท่านที่ได้ชี้บอกทางแก่เราให้เกิดผลดีแก่เรานั่นเองสาธุ..