iLove ไท่ฟู่

สูตรผลิตน้ำสกัดชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตรอย่างง่าย

สตรการผลิตน้ำสกัดชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตรอย่างง่าย

น้ำสกัดชีวภาพ คือน้ำที่ได้จากการหมักดองพืชอวบน้ำ เช่น ผัก ผลไม้ ด้วยน้ำตาลในสภาพไร้อากาศ น้ำที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์และสารอินทรีย์หลากหลายชนิด  จุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกยีสท์ แบคทีเรียสร้างกรดแลคติกและพวกรา แบคทีเรียสังเคราะห์แสงก็เคยพบในน้ำสกัดชีวภาพ 

วัสดุอุปกรณ์ในการทำน้ำหมักชีวภาพ

  1. ถังหมักที่ปิดฝาสนิท จะเป็นถังพลาสติก ถังโลหะ หรือกระเบื้องเคลือบหรือจะใช้ถุงพลาสติกก็ได้
  2. น้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด ถ้าได้จากน้ำตาลยิ่งดี เพราะราคาถูกและมีธาตุอาหารอื่นๆของจุลินทรีย์ นอกจากน้ำตาลอยู่ด้วย

    ภาพโดย Ben Kerckx จาก Pixabay

  3. พืชอวบน้ำทุกชนิด เช่น ผักผลไม้ ทั้งแก่และอ่อน รวมทั้งเปลือกผลไม้อวบน้ำ ที่สดไม่เน่าเปื่อย เช่น เปลือกแตงโม เปลือกสับปะรด เปลือกขนุน และเปลือกมะม่วง เป็นต้น 
  4. ของหนัก เช่น อิฐบล็อกหรือก้อนหิน

วิธีทำน้ำสกัดชีวภาพ

  1. นำพืช ผัก ผลไม้ ลงผสมกับน้ำตาลในภาชนะที่เตรียมไว้ในอัตราน้ำตาล 1 ส่วนต่อพืชผักผลไม้ 3 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน หรือถ้าปริมาณมากจะรวยทับสลับกันเป็นชั้นๆก็ได้
  2. ใช้ของหนักวางทับบนพืชผักที่หมัก เพื่อกดไล่อากาศที่อยู่ระหว่างพืชผัก ของหนักที่ใช้ควรมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำหนักพืชผักวางทับไว้ 1 คืนก็เอาออกได้
  3. ปิดฝาภาชนะที่หมักให้สนิท ถ้าเป็นถุงพลาสติกก็มัดปากถุงให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปได้ เป็นการสร้างสภาพที่เหมาะสมให้แก่จุลินทรีย์ที่หมักดองลงไปทำงาน
  4. เมื่อน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณมากพอ ประมาณ 10-14 วัน ก็ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกบรรจุลงในภาชนะพลาสติก อย่ารีบถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกเร็วเกินไป เพราะเราต้องการให้มีปริมาณจุลินทรีย์มากๆ เพื่อเร่งกระบวนการหมัก น้ำสกัดชีวภาพที่ถ่ายออกใหม่ๆ กระบวนการหมักยังไม่สมบูรณ์ จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น ต้องคอยเปิดฝาภาชนะบรรจุทุกวันจนกว่าจะหมดก๊าซ ปริมาณของน้ำสกัดชีวภาพที่ได้จากการหมักจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของผักผลไม้ที่ใช้หมัก ซึ่งจะมีน้ำอยู่ 95.98%  สีของน้ำสกัดชีวภาพก็ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำตาลที่หมัก ถ้าเป็นน้ำตาลฟอกขาวก็จะมีสีอ่อน ถ้าเป็นกากน้ำตาลน้ำสกัดชีวภาพจะเป็นสีน้ำตาลแก่
  5. ควรเก็บถังหมักน้ำสกัดชีวภาพไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกฝนและแสงแดดจัด น้ำสกัดชีวภาพที่ผ่านการหมักสมบูรณ์แล้ว ถ้าปิดฝาสนิทสามารถเก็บไว้ได้หลายๆเดือน
  6. กากน้ำตาลที่เหลือจากการหมักสามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยบริเวณทรงพุ่มของต้นไม้ได้ หรือจะคลุกกับดินหมักเอาไว้ใช้เป็นดินปลูกต้นไม้ก็ได้

หมายเหตุ ในกรณีที่มีการหมักต่อเนื่อง ก็ไม่จำเป็นต้องเอากากออก สามารถใส่พืชผักลงไปเรื่อยๆก็ได้ หรือในกรณีที่หมักยังไม่เต็มถัง ก็สามารถเติมเต็มถังก็ได้ ทุกครั้งหลังจากเปิดถัง ต้องปิดฝาหรือมัดถุงให้แน่นเหมือนเดิมเพื่อป้องกันอากาศเข้า เพราะถ้าอากาศเข้ามากๆ จะมีจุลินทรีย์อื่นๆที่เราไม่ต้องการลงไป ทำให้เสียมีกลิ่นเหม็นเน่าได้ น้ำสกัดชีวภาพที่มีคุณภาพดีจะมีกลิ่นหมักดอง และมีกลิ่นแอลกอฮอล์บ้าง มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลและปริมาณผลไม้ที่หมัก ถ้าชิมดูน้ำสกัดชีวภาพจะมีรสเปรี้ยว

วิธีใช้น้ำสกัดชีวภาพในพืช

  1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำ ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 500 ถึง 1,000  ส่วน รดต้นไม้หรือฉีดพ่นบนใบ
  2. เริ่มฉีดพ่นเมื่อพืชเริ่มงอกก่อนที่โลกและแมลงจะรบกวน และควรทำในตอนเช้าหรือหลังจากฝนตกหนัก
  3. ควรให้อย่างสม่ำเสมอ และในดินต้องมีอินทรีย์วัตถุอย่างเพียงพอ  ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง ใบไม้แห้งและฟาง เป็นต้น
  4. ใช้ได้กับพืชทุกชนิด (รายละเอียดจะนำมาเสนอในบทต่อๆไป)
  5. น้ำสกัดชีวภาพเจือจางใช้แช่เมล็ดพืชก่อนนำไปเพาะ จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นและจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและสมบูรณ์

ประโยชน์

ในน้ำสกัดชีวภาพ ประกอบด้วยสารอินทรีย์ต่างๆ หลากหลายชนิด เอนไซม์ฮอร์โมนและธาตุอาหารต่างๆ เอนไซม์บางชนิดจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นสารอินทรีย์เป็นอาหารของจุลินทรีย์เอง และเป็นอาหารของต้นพืช ฮอร์โมนหลายชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นก็เป็นประโยชน์ต่อพืชถ้าให้ปริมาณเล็กน้อย แต่จะมีโทษหาให้ในปริมาณที่เข้มข้นเกินไป ฉะนั้นในการใช้น้ำสกัดชีวภาพในพืช จำเป็นต้องให้ในอัตราเจือจาง สารอินทรีย์บางชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้น เป็นสารที่เพิ่มความต้านทานโรคแก่พืช ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลง และทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน

บทความน่าอ่านและข่าวอื่นๆเพิ่มได้ที่ lovetaifu.com