iLove ไท่ฟู่

การดักเชื้อราไตรโคเดอร์ม่ามาใช้ในการเกษตร

การดักเชื้อราไตรโคเดอร์ม่ามาใช้ในการเกษตร

เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

สวัสดีครับเพื่อนๆพี่น้องชาวเกษตรกรทั้งหลาย วันนี้ แอดฯ มีวิธีการแสนง่ายจะสามารถนำเชื้อไดโคโดม่าในธรรมชาติมาใช้ในการเกษตร และขั้นตอนวิธีนำไปใช้ ในการเกษตรให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดอย่างถูกต้อง วิธีการเป็นอย่างไรเราลองมาดูกัน

เชื้อราไตรโคเดอร์มาคืออะไร

  1. เป็นเชื้อราที่ 1 ที่อาศัยเศษซากพืชซากสัตว์และอินทรีย์วัตถุเป็นอาหาร
  2. เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า มีคุณสมบัติในการทำลายเชื้อรา 
  3. เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าไม่ทำให้พืชเกิดโรค จึงถูกนำมาใช้ในการควบคุมโรคพืช เชื้อราทางดินที่เป็นเชื้อโรคหลายชนิดเช่น  โรครากเน่า กล้าเน่า โรคเหี่ยว เป็นต้น

การผลิตขยายเชื้อไตรโคเดอร์ม่าอย่างง่าย

  1. นำเมล็ดข้าวเปลือก หรือข้าวฟ่างมาแช่น้ำ ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปต้มให้พอสุก(เมล็ดแตก) ผึ่งให้เย็นแล้วทำการบรรจุลงถุงพลาสติกใส ขนาด 8 คูณ 12 นิ้ว มีน้ำหนักถุงละ 3 ขีดครึ่ง ( 3 ถุงหนัก 1 กิโลกรัม)
  2. วางถุงเชื้อในลักษณะนอน ในห้องที่มีแสงสว่าง และปลอดภัยจากสัตว์และแมลง  7-10 วันจึงนำไปใช้ได้ หรือเก็บในตู้เย็นได้นาน 1 เดือน

    เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

การต่อขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า(ก่อนนำไปใช้)

  1. เชื้อราหนัก  1 กิโลกรัม ( 3 ถุงพลาสติกใส)
  2. รำละเอียด  10 กิโลกรัม( แกลบอ่อน)
  3. ปุ๋ยหมัก 40 กิโลกรัม

นำทั้ง 3 อย่างผสมให้เข้ากันดีแล้วนำไปใช้

พืชล้มลุก

  1. หมักส่วนผสมไว้ 7 วัน นำไปใช้รองก้นหลุมปลูก 1 ช้อนแกง
  2. ใส่อีกครั้งช่วงออกดอกติดผล 1 กำมือ

ไม้ยืนต้น

  1. ใส่คลุกกับดินในหลุมก่อนปลูก 1 กิโลกรัม
  2. ใส่บริเวณโคนต้นทุกๆ ปี 1 กิโลกรัมต่อต้น
  3. ใส่เพื่อฟื้นฟูสภาพต้นที่เป็นโรค 2-3 ครั้งต่อปี

ข้อควรระวัง

  1. ไม่ควรใช้เชื้อราที่สร้างเส้นใยสีขาว 
  2. ไม่ควรนำเชื้อราที่แฉะน้ำ หรือมีกลิ่นเหม็นมาใช้

ในธรรมชาติมีเชื้อจุลินทรีย์

ที่เป็นมิตรกับเกษตรกรอยู่มากมาย หากเราสามารถศึกษาและค้นคว้าซึ่งวิธีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แล้วละก็ เกษตรกรของไทยเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีที่มีพิษอื่นๆเลย ทำให้ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย ซึ่งผลตามมาก็คือสุขภาพที่ดีนั่นเอง