พุทธวจน! ความแตกต่างของผู้ให้กับผู้ไม่ให้

พุทธวจน! ความแตกต่างของผู้ให้กับผู้ไม่ให้

สวัสดีขอรับ แอดฯขอบคุณทุกท่านที่ติดตามให้กำลังใจกัน วันนี้มีคนเคยถามว่าศีลมีอานิสงส์มากกว่าทาน แล้วถ้าเรามีศีล แล้วจำเป็นหรือไม่ในการให้ทาน แอดฯเลยหยิบยกเอา ปัจกนิบาต อังคุตตรนิกาย เล่มที่22 หน้าที่ 34 ข้อที่ 31 มาตอบทุกท่าน จะเป็นอย่างไรนั้นมาดูกัน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส สาวกของพระผู้มีพระภาค 2 คน มีศรัทธา มีศีล มีปัญญาเท่าๆกัน คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งเป็นผู้ไม่ให้ คนทั้งสองนั้น เมื่อตายไปแล้ว เพิ่งเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นเทวดาเหมือนกัน จะมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ

บทความน่าอ่าน

สุมนา คุณทั้งสองนั้นจะมีความพิเศษแตกต่างกันคือ ผู้ให้ที่เป็นเทวดา ย่อมคุ้มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข  ยศ และอธิปไตยที่เป็นทิพย์ 

สุมนา ผู้ใดที่เป็นเทวดา ย่อมคุ้มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการนี้

พระสงฆ์ ภาพโดย chanwit whanset จาก Pixabay

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าเทวดาทั้งสองนั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นมนุษย์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือไม่

สุมนา คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกันคือ ผู้ให้ที่เป็นมนุษย์ ย่อมข่มผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการคือ อายุ วรรณะ สุข  ยศ และอธิปไตยที่เป็นของมนุษย์

สุมนา ผู้ให้ที่เป็นมนุษย์ ย่อมข่มมนุษย์ผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการนี้แล 

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวชแต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นบรรพชิตเหมือนกัน เพิ่งมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ

สุมนา คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกันคือ ผู้ให้ที่เป็นบรรพชิต โยมคงบรรพชิตผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการคือ

  1. เมื่อเอ่ยปากขอย่อมได้จีวรมาก เมื่อไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย
  2. เมื่อเอ่ยปากขอย่อมได้บิณฑบาตมาก เมื่อไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย
  3. เมื่อออกปากขอย่อมได้เสนาสนะมาก เมื่อไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย
  4. เมื่อเอ่ยปากขอย่อมได้บริขาร คือ ยาที่เป็นเครื่องบำบัดไข้มาก เมื่อไม่เอ่ยปากขอย่อมได้น้อย
  5. เมื่ออยู่ร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้นก็ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมนำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็นส่วนมาก ย่อมนำสิ่งไม่เป็นที่พอใจมาเป็นส่วนน้อย

สุมนา ผู้ให้ที่เป็นบรรพชิต ย่องข่มบรรพชิตผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน พึ่งมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ

สุมนา ข้อนี้เราไม่กล่าวว่า มีความพิเศษแตกต่างกันใดๆในวิมุตติ กับวิมุตติ

ว่าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ตั้งแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้กำหนดได้ว่า บุคคลควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต

อย่างนั้นสุมนา อย่างนั้นสุมนา

บุคคลควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต

ทำบุญ ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay

เป็นอย่างไรกันบางขอรับ ทีนี้ก็คงพอจะทราบแล้วใช่ไหมว่า แม้ว่าเราจะรักษาศีลได้ครบถ้วนแล้ว(ศีล 5) เรายังควรจะให้ทานหรือไม่ ส่วนแอดฯคิดว่าการทำบุญหากมีโอกาสทำให้รีบทำ ไม่ว่าจะเป็นบุญกิริยาใดหากมีโอกาสก็จะทำทันที ไม่มัวคิดถึงอานิสงส์ว่าจะมีมากหรือน้อยเลย

บทความน่าอ่านและอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ lovetaifu.com