เจลว่านหางจระเข้ กับสรรพคุณเด็ดๆพร้อม 5 สูตรบำรุงผิวหน้า

เจลว่านหางจระเข้ กับสรรพคุณเด็ดๆพร้อม 5 สูตรบำรุงผิวหน้า

สวัสดีครับ แอดฯขอบคุณทุกท่านที่ติดตามให้กำลังใจกัน วันนี้ว่ากันด้วยเรื่องสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณในการรักษาเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน ชนิดหนึ่งนั่นคือว่านหางจระเข้ ส่วนจะมีสรรพคุณอย่างไรนั้น มาดูกันเลยครับ

กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมให้สถานพยาบาลทั่วประเทศ ใช้ยาสมุนไพรบำบัดรักษาโรคควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน โดยให้มีมากกว่า 19 รายการ ปัจจุบันในยาหลักแห่งชาติรวมทั้งใช้ทดแทน เพื่อลดการนำเข้ายาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศ โดยเพิ่มยาสมุนไพรที่สถานพยาบาลผลิตและใช้ในโรงพยาบาล

สรรพคุณของยาสมุนไพร ในการรักษาได้ผลดีเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน อีกทั้งมีบางชนิดได้ผลดีกว่ายาแผนปัจจุบันเสียอีก

เจลว่านหางจระเข้ ภาพโดย Rosina-Sch จาก Pixabay

เจลว่านหางจระเข้
สรรพคุณรวมๆของว่านหางจระเข้

  • ช่วยป้องกันเบาหวานด้วยการรับประทานเนื้อวุ้น หรือการนำน้ำปั่นว่านหางจระเข้มาดื่มก็ได้ ก็จะช่วยบรรเทาอาการ และป้องกันโรคเบาหวานได้
  • ว่านหางจระเข้ สรรพคุณช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการตัดใบสดของว่านหางจระเข้ แล้วทาปูนแดงด้านหนึ่ง แล้วด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้(ใบ)
  • วุ้นว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันและลดการเกิดแผลในกระเพาะขณะท้องว่าง ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารต่างๆ
  • เนื้อว่านหางจระเข้ สรรพคุณว่านหางจระเข้ช่วยแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น นำมารับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้ง และ 2 ช้อนโต๊ะ(เนื้อวุ้น)
  • ช่วยรักษาอาการท้องผูก ด้วยการกรีดเอายางจากว่านหางจระเข้มาเคี่ยวให้งวด ทิ้งให้เย็นจะได้ก้อนยาสีดำ แล้วตักมาใช้ประมาณช้อนชา เติมน้ำเดือด 1 ถ้วย แล้วคนจนละลาย โดยผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชาก่อนนอน แต่ถ้าเป็นเด็กให้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาก่อนนอน
  • ช่วยรักษาโรคริดสีดวง ด้วยการใช้เนื้อวุ้นจากใบเหลาให้เป็นปลายแหลมเล็กน้อย แนะนำไปแช่ตู้เย็นหรือน้ำแข็งจนเนื้อแข็ง แล้วนำไปใช้เน็ตในช่องทวารหนัก วันหมั่นทำเป็นประจำวันละ 1-2 ครั้งจนกว่าจะหาย
  • ช่วยบรรเทาและแก้อาการปวดตามข้อ ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้นครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้งเป็นประจำจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้น
  • ช่วยรักษาแผลสด ผลจากของมีคม แผลที่ริมฝีปาก แก้ฝี แก้ตะมอย ด้วยการใช้วุ้นจากใบนำมาแปะบริเวณแผลให้มิดชิดและใช้ผ้าปิดไว้ หยุดนะเมื่อลงตรงแผลให้ชุ่มอยู่เสมอหรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้
  • ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ช่วยดับพิษร้อนบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผล ด้วยการใช้วุ้นจากใบสดที่ร้านน้ำสะอาด แล้วฝานบางๆ นำมาทาหรือแปะไว้บริเวณแผลตลอดเวลา จะช่วยทำให้แผลหายเร็วมากขึ้น และอาจไม่เกิดรอยแผลเป็นด้วย
  • ช่วยรักษาอาการผิวหนังไหม้จากแสงแดด หรือไหม้เกรียมจากการฉายรังสี หรือแผลเรื้อรังจากการฉายรังสี โดยนำวุ้นของว่านหางจระเข้มาทาผิวบ่อยๆ ก็จะช่วยลดอาการอักเสบได้ แต่ถ้าไปนานๆระวังผิวแห้ง ส่วนผสมน้ำมันพืช เว้นแต่ว่าจะทำให้ผิวเปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลา
  • ช่วยรักษาโรคเรื้อนกวาง(โรคสะเก็ดเงิน) ช่วยลดอาการตกสะเก็ด ยาลดอาการคันของโรคเรื้อนกวาง ทำให้แผลดูดีขึ้น

    เจลว่านหางจระเข้ ภาพโดย Franziska Ingold จาก Pixabay

บทความน่าอ่าน

สูตรว่านหางจระเข้พอกหน้า

  • สูตรบำรุงผิวหน้า กระชับรูขุมขน เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ว่านหางจระเข้พอกหน้าวิธีการใช้วุ้นหางจระเข้บด 1 ช้อนโต๊ะ น้ำแตงกวา 1-2 ช้อนโต๊ะ ดินสอพอง 1.5 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมเข้ากันแล้วใช้พอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  • สูตรลดสิว รักษารอยดําจากสิว ด้วยการใช้วุ้นหางจระเข้บท 1 ช้อนโต๊ะ ไข่ขาว 2 ช้อนโต๊ะ ดินสอพอง 1.5 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมจนเข้ากันแล้วใช้พอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  • สูตรลดความมัน แก้ปัญหาจุดด่างดำด้วยการใช้ วุ้นหางจระเข้บท 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว 1 ช้อนชา น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ดินสอพอง 2 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมให้เข้ากันแล้วนำมาพอกบริเวณใบหน้าทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วล้างออก

    ใบหน้ากระจ่างใส ภาพโดย Diamantino Santos จาก Pixabay
  • สูตรผิวหน้ากระจ่างใส ด้วยการใช้วุ้นหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ นมสด 1.5 ช้อนโต๊ะ ดินสอพอง 1 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมจนเข้ากันแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วล้างออก
  • สูตรเพิ่มความกระจ่างใส ลดความมันด้วยการใช้วุ้นหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะ นมสด 1.5 ช้อนโต๊ะ ขมิ้นผง 2 ช้อนชา นำมาผสมจนเข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก

เป็นอย่างไรกันบ้างละขอรับสำหรับ สรรพคุณเด็ดๆของสมุนไพรไทยตัวนี้ สำหรับผู้ที่กลัวเรื่องสารเคมีตกค้างในครีมสังเคราะห์ต่างๆก็สบายใจได้เลย เพราะว่านหางจระเข้เป็นเคมีจากธรรมชาติจริงๆมิต้องเติมแต่งเคมีสังเคราะห์อื่นๆให้ต้องกลัวสารตกค้างกันเลยทีเดียว

บทความน่าอ่านและอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ lovetaifu.com