iLove ไท่ฟู่

7 ขั้นตอนการปรับปรุงดินให้เหมาะสมแก่การปลูกพืช

7 ขั้นตอนการปรับปรุงดินให้เหมาะสมแก่การปลูกพืช

สวัสดีครับวันนี้แอดฯจะมานำเสนอเกี่ยวกับวิธีบำรุงดินหรือปรังปรุงดินที่ไม่เหมาะสมแก่การปลูกพืชให้กลับมาเป็นดินที่ดีและพร้อมแก่การเพาะปลูก การปรับปรุงดินคือ การทำให้โครงสร้างของดินไม่อัดแน่น ปิดช่องว่างระหว่างน้ำในอากาศพอเหมาะ ทำให้รากของพืชสามารถได้รับน้ำ สารอาหาร และอากาศได้ดีเยี่ยม รวมถึงทำให้ธาตุอาหารต่างๆในดินเป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างเต็มประสิทธิภาพเรามาดู 7 วิธีง่ายๆในการปรับปรุงดินที่จะมานำเสนอในวันนี้ได้เลยครับ

การปรับปรุงดิน ทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

  1. การใส่ปุ๋ยคอก คือการใช้มูลสัตว์ต่างๆซึ่งมูลสัตว์มักจะสูญเสียธาตุอาหารได้ง่าย จึงควรใช้เศษซากพืช เช่น ฟาง  แกลบ เป็นต้น รองพื้นคอกสัตว์ เพื่อช่วยดูดซับธาตุอาหารจากมูลสัตว์ไว้ด้วย

    ภาพโดย Markus Distelrath จาก Pixabay

  2. การใช้วัสดุปรับปรุงดิน คือ การนำเอาเศษซากพืชที่เหลือจากการเพาะปลูก เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่างๆ เช่นผักตบชวา และของเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนการขยะมูลฝอย น้ำหมักจนเน่าเปลือยแล้วนำไปใช้ในไร่นาหรือสวน
  3.  การใช้ปุ๋ยพืชสด คือ การไถกลบส่วนต่างๆของพืชที่ยังสดอยู่ลงในดิน เพื่อให้เน่าเปื่อยผุพังเป็นปุ๋ย ส่วนใหญ่จะใช้พืชตระกูลถั่วเพราะให้ธาตุไนโตรเจนสูง และย่อยสลายง่าย โดยเฉพาะในระยะออกดอก หรือปลูกแล้วตัดส่วนเหนือดินและไถกลบลงในดิน พืชที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนอัฟริกัน  โสนอินเดีย ปอเทือง ถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ กระถินยักษ์ และแหนแดงเป็นต้น

    ภาพโดย Sittichok Glomvinya จาก Pixabay

  4.  การปลูกพืชคลุมดิน นิยมใช้พืชตระกูลถั่วที่มีคุณสมบัติคลุมหน้าดินได้หนาแน่น  เพื่อป้องกันวัชพืชลดการชะล้าง เก็บความชื้นในดินไหวได้ดี และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ได้แก่ ถั่วลาย  ถั่วคุดซู ถั่วคาโลโปโกเนียม เป็นต้น
  5. การใช้วัสดุคลุมดิน นิยมใช้เศษพืชเป็นวัสดุคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการอัดแน่นในดินจากเม็ดฝน ป้องกันวัชพืชขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเศษพืชเหล่านี้สลายตัวจะกลายเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  6.  เศษของเหลือจากพืชและสัตว์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนของต้นพืช เศษพืชที่เหลือ เช่น ต้นเล็บเปลือกถั่วลิสง ต่อซัง แกลบ หรือวัสดุอื่นๆ ถ้าไม่มีการใช้ประโยชน์ควรไถกลบกลับลงสู่ดิน ส่วนเศษเหลือของสัตว์เช่น เลือด และเศษซากสัตว์จากโรงงานฆ่าสัตว์ ก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยเพิ่มอินทรีย์วัตถุได้

    ภาพโดย PublicDomainPictures จาก Pixabay

  7.  การปลูกพืชหมุนเวียน  โดยปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ควรมีพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีคุณสมบัติปรับปรุงบำรุงดินด้วย เพื่อให้การใช้ธาตุอาหารจากดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนช่วยให้ชั้นของดินมีเวลาพักตัวในกรณีที่ปลูกมีรากลึกแตกต่างกัน

นี่ก็เป็น 7 วิธี

ในการปรับปรุงดินอย่างง่ายๆ ซึ่งทางเกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ไม่มีขั้นตอนใดยุ่งยาก แต่สามารถทำให้พื้นดินเพาะปลูกของท่านจากดินที่เสื่อมเสีย แข็งกระด้างมี ธาตุอาหารน้อย กลับมาเป็นดินที่ดีสามารถเพาะปลูกได้ง่ายและทำให้ผลผลิตดีขึ้นได้